มุมมองในศตวรรษที่ 19 และ 20 ของ การเจาะเลือดเสียออกจากร่างกาย

ในช่วงศตวรรษที่ 19 การเอาเลือดออกกลายเป็นการรักษาขั้นต้นยอดนิยมที่ใช้ในทุกโรค ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด ปวดหัว ปวดท้อง ไปจนถึงโรคมะเร็ง อหิวาตกโรค หรือโรคปวดบวม การรักษาด้วยการเจาะเลือดเสียออกเป็นเหมือนการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ทุกคนต้องทำก่อนจะรักษาขั้นใหญ่ ทั้งนี้หน้าที่หลักในการเจาะเลือดเป็นของศัลยแพทย์ และศัลยแพทย์เส้นผมซึ่งก็คือพวกช่างตัดผมต่างๆ ที่ถือครองมีดหมอในการตัดแต่งเส้นผมหรือเคราของร่างกาย ก็มีความสามารถพอที่จะเจาะเลือดให้ได้

เครื่อง Scarificator

ในช่วงยุคนี้กระบวนการเจาะเลือดเสียออกเริ่มมีแบบแผนชัดเจนขึ้น เช่น การจะเจาะต้องเจาะในจุดที่เส้นเลือดดำขนานกันสองเส้นขึ้นไป เช่น เส้นเลือดที่ปลายแขนหรือลำคอ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเจาะเลือดโดยเฉพาะด้วย เช่น Scarificator ซึ่งเป็นเครื่องมือลักษณะคล้ายกล่องแต่มีใบมีดคมกริบขนานไปกับตัวเครื่องเพื่อใช้ในการผ่าผิวหนังเพื่อให้เลือดออกมา

ความนิยมในการเจาะเลือดยังทำให้ความนิยมในการทำธุรกิจค้าขายปลิงเพิ่มขึ้นด้วย[6] เพราะปลิงก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ชาวยุโรปใช้ในการกำจัดเลือดเสีย เพราะมันเป็นสัตว์ที่ดูดเลือดกินเป็นอาหาร ซึ่งความนิยมในการนำเข้าปลิงเพื่อใช้ในทางการแพทย์มีลายลักษณ์อักษรบันทึกเอาไว้ เช่นในฝรั่งเศสช่วงทศวรรษที่ 1930s มีการนำเข้าปลิงไม่ต่ำกว่า 40 ล้านตัว ในขณะที่อังกฤษนำเข้าปลิงจากฝรั่งเศสกว่า 6 ล้านตัว

อย่างไรก็ตามก็มีนักวิทยาศาสตร์และนักการแพทย์หลายคนพยายามชี้อธิบายว่าการเจาะเลือดเสียนั้นไม่ได้ช่วยอะไรมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 เช่นวิลเลี่ยม ฮาร์วี่ ผู้ค้นพบว่าในเลือดนั้นมีระบบไหลเวียนภายใน ก็ได้เคยศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการเอาเลือดเสียออกจากร่างกาย ก็อธิบายว่าการเอาเลือดออกนั้นไม่ได้ทำให้ร่างกายแข็งแรงหรือปราศจากโรคระบาดขึ้นแต่อย่างใด ในขณะที่ปิแอร์ ชาล์ล อเล็กซานเดรีย หลุยส์นายแพทย์ชาวฝรั่งเศสก็สังเกตว่าผู้ป่วยโรคปอดบวมที่ทำการเจาะเลือดเอาเลือดเสียออกจากร่างกาย ไม่ได้แข็งแรงขึ้นแต่อย่างใด แต่บางทีกลับมีสภาพแย่กว่าผู้ป่วยที่ไม่ทำการเจาะเลือดเสียอีกด้วยซ้ำ งานเผยแพร่ของปิแอร์ หลุยส์ทำให้สังคมเริ่มตระหนักถึงความไม่มีเหตุและผลของการทำการเจาะเลือดเสีย และด้วยรูปแบบการรักษาที่ทันสมัยมากขึ้น ทำให้ความนิยมของการเจาะเลือดเสียในร่างกายเริ่มเสื่อมลง วิธีการนี้ต่อมาถูกมองว่าเป็นแค่การรักษาทางจิตใจ หรือการให้ยาหลอก ที่ให้เป็นเพียงแค่การให้กำลังใจคนไข้ให้สู้ต่อไปเท่านั้น ถึงกระนั้นรูปแบบการรักษาด้วยการเจาะเลือดเสียก็ยังคงหลงเหลือต่อมาจนถึงศตวรรษที่ 20 แต่ด้วยจำนวนที่น้อยมาก และเฉพาะกลุ่มแบบสุดๆ

ใกล้เคียง

การเจริญของประสาทในมนุษย์ การเจาะน้ำคร่ำ การเจาะเลือดเสียออกจากร่างกาย การเจรจา (เทอร์บอร์ค) การเจาะน้ำไขสันหลัง การเจาะสำรวจด้วยหัวเจาะเพชร การเจรจา การเจริญเกินของต่อมลูกหมาก การเจียระไนเพชร การเจริญเติบโตของหนอนที่พบในศพ